ความสัมพัทธ์อันน่าตกใจระหว่างน้ำตาลกับ โรคอัลไซเมอร์

ความสัมพัทธ์อันน่าตกใจระหว่างน้ำตาลกับโรคอัลไซเมอร์ The Startling Link Between Sugar and Alzheimer’s

 

ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่มา โรคอัลไซเมอร์ มักถูกเรียกว่า โรคเบาหวานประเภทที่ 3 ทั้งจากงานวิจัยและนิตยาสาร NY times

ถึงแม้ว่า โรคอัลไซเมอร์ จะมีส่วนคล้ายกับโรคเบาหวานในเรื่องของอินซูลิน แต่เบาหลักการก็ยังต่างกัน นั่นคือ เบาหวานประเภทที่ 1 เกิดโรค autoimmune และเบาหวานประเภทที่ 2 เกิดจากอาหาร

แทนที่จะเป็นเบาหวานประเภทที่ 3 บางที  โรคอัลไซเมอร์ อาจจะเป็นผลเสียมาจากอาหารตะวันตกที่เต็มไปด้วยน้ำตาล

สุดยอดรายงานการวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 ในวารสาร Diabetologia ที่ทำการศึกษาใน

กลุ่มประชาการมากกว่า 5189 คน เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี พบว่า คนที่มีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงมีโอกาสที่ระบบประสาทเสื่อมเร็วกว่ากลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ แม้ว่าระดับน้ำตาลที่สูงจะไม่สูงขนาดเป็นโรคเบาหวาน ในอีกคำหนึ่งก็คือ ยิ่งน้ำตาลในเลือดสูงมากเท่าไหร่ โอกาสที่ระบบประสาทเสื่อมก็มากขึ้น

“Dementia is one of the most prevalent psychiatric conditions strongly associated with poor quality of later life,” said the lead author, Wuxiang Xie at Imperial College London, via email. “Currently, dementia is not curable, which makes it very important to study risk factors.”

โรคความจำเสื่อมเป็นหนึ่งโรคทางประสาทวิทยาที่ส่งผลมากต่อคุณภาพชีวิตของคนสูงอายุ ในปัจจุบันโรคความจำเสื่อมยังไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งนั่นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ที่เราจะต้องหารปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ให้เจอ กล่าวโดย Wuxiang Xia ผู้ตีพิมพ์หลักของงาน

ในปี 2016 ศ. Melissa Schilling แห่งมหาวิทยาลัย New York ได้ทำการทบทวนวรรณกรรม เกี่ยวกับความสำพันธ์นี้เช่นกัน โดยเธอต้องการที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มของสองอย่างที่มันฟังแล้วสับสน นั่นคือ คนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มีโอการเป็นโรคอัลไซเมอร์มากถึง 2 เท่า และคนที่เป็นโรคเบาหวานและได้รักษาด้วยอินซูลินมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์มากกว่าเดิม ซึ่งแสดงว่าอินซูลินที่สูงขึ้นมีส่วนสำคัญต่อโรคอัลไซเมอร์ มีงานวิจัยหลายงานพบว่าปริมาณอินซูลินที่สูงขึ้นหรือ hyperinsuinema เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ ในขณะที่คนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ที่ไม่มีการสร้างอินซูลินกับมีโอกาสเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ด้วยเช่นกัน ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นจริงทั้งคู่ในเวลาเดียวกันได้

ศ. Schilling สรุปว่านี่อาจจะเกิดมาจาก insulin-degrading enzyme ที่ใช้ในการย่อยอินซูลินและโปรตีน Amyloid ในสมอง โปรตีนเดียวกันกับโปรตีนที่เมื่อมีมากในสมองและจะทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ คนที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินให้ไม่เพียงพอที่จะไปย่อยโปรตีน Amyloid นำไปสู่การสะสมแล้วเกิดโรคอัลไซเมอร์ ในขณะเดียวกันคนที่ฉีดอินซูลินสำหรับโรคเบาหวานกลับได้รับอินซูลินที่มากเกินไปทำให้ enzyme ตัวนี้ถูกใช้ไปย่อยอินซุลินจนหมดจนไม่เหลือให้ไปย่อยโปรตีน Amyloid

ศ. Schilling ยังเสริมว่าอาการเหล่านี้ยังสามารถเกิดกับกลุ่มคนที่อยู่ในภาวะดื้ออินซูลินหรือ Insulin Resistance ด้วย หรือกลุ่มคนที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติเล็กน้อย

ในงานศึกษาปี 2012 โดย คุณหมอ Robert ได้แบ่งคนเกือบ 1000 คนออกเป็นสี่กลุ่ม ตามปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เขาทาน โดยพบว่าคนที่ทานคาร์โบไฮเดนตมามีโอกาสสูงกว่ากลุ่มที่ทานคาร์บน้อยที่สุดถึง 80% ในการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท cognitive impairment กลุ่มอาการเสี่ยงก่อนเกิดโรคความจำเสื่อมหรือ Dementia กลุ่มคนที่เป็น cognitive impairment นั้นสามารที่จะแต่งตัวและทานอาหารเองได้ แต่จะมีปัญหากับงานที่ซับซ้อนขึ้น ถ้าหยุดกลุ่มอาการนี้ได้ก็จะช่วยป้องการโรคความจำเสื่อมถาวรได้

Rebecca Gottesman จากมหาลัย Johns Hopkins บอกว่างานวิจัยนี้อาจจะไม่มีหลักฐานที่เพียงพอจะอธิบายและยืนยันแบบ 100% ที่จะอธิบาย ณ ตอนนี้ว่าอาหารแบบไหนที่ดีที่สุด แต่เธอพบว่าอาหารที่มีคาร์บน้อย เช่น อาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาจจะดีต่อสมอง

อาหารแนวเมดิเตอร์เรเนียน

มันมีหลายทฤษฎีที่แสดงถึงความสัมพัทธ์ระหว่างระดับน้ำตาลที่สูงกับโรคความจำเสื่อม โรคเบาหวานนั้นสามารถที่จะทำให้หลอดเลือดอ่อนแอ และทำให้เกิดเส้นเลือดแตกแบบเล็ก ministrokes ในสมองได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความจำเสื่อม อีกแง่หนึ่งก็คือการทานน้ำตาลปริมาณที่สูงๆตลอดเวลามีโอกาสทำให้เซลล์ในสมองเกิดภาวะต้านอินซูลินซึ่งจะทำให้เซลล์ตายในที่สุด ทานน้ำตาลที่มากทำให้เป็นโรคอ้วน ปริมาณไขมันส่วนเกินที่มากเกินไปจะปล่อย cytokines โปรตีนที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งจะนำไปสู่การเสื่อมถอยของระบบประสาท ในงานวิจัยหนึ่ง โรคอ้วนเพิ่มโอการอย่างน้อยสองเท่าที่โปรตีน Amyloid จะสูงขึ้นในสมอง

Dr.Robert บอกว่าคนที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1 นั้นเสี่ยง ก็ต่อเมื่อระดับอินซูลินไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

เพียงแค่ว่าคุณไม่ได้เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ก็ใช่ว่าคุรจะทานอะไรเข้าไปก็ได้ สิ่งที่เราทานเข้าไปมีผลต่ออนาคตของร่างกายเรา Dr.Rober กล่าวว่างานวิจัยของ Xie ที่น่าสนใจก็เพราะเขาแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่าง prediabetes กับ การเสื่อมถอยของระบบประสาท

นั่นคือจุดประสงค์สำคัญที่สุดที่มักจะถูกละเลย เมื่อมีการพูดถึงโรคอัลไซเมอร์ มันเป็นโรคที่แย่และชอบมองว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะบางทีมันจะเกี่ยวกับพันธุกรรมและปัจจัยแวดล้อมอื่นที่ไม่เกี่ยวกับอาหาร แต่อาหารก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เราสามารถควบคุมมันได้ และนั่นก็ดูเหมือนว่าการตัดสินใจในตอนเด็กอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของระบบประสาทเราในอนาคต

โรคอัลไซเมอร์เหมือนกับกองไฟที่เผาไหม้อย่างช้าที่ไม่รู้ว่ามันเริ่มมาจากไหน เมื่อคุณเริ่มเห็นสัญญาณมันก็สายเกินกว่าจะหยุดการไหม้ของมันแล้ว Prof. Schilling

 

นิตยาสาร The Atlantic เป็นนิตยาสารของประเทศสหรัฐอเมริกาก่อตั้งเมื่อปี 1857

บทความเดิมโดย OLGA KHAZAN