อาหารคีโต กับ IF ทำไมคู่กัน

อาหารคีโต กับ IF

สิ่งหนึ่งที่น่ากลัวของแป้งและน้ำตาลก็คือการเพิ่มของระดับอินซูลินหรือบางท่านอาจจะเรียกว่า Insulin Spike โดยหากเรามองให้มันเป็น วัฏจักรก็จะมีลักษณะประมาณนี้

วงจร ระดับน้ำตาลในเลือด หลังจาก ทานอาหาร และผลต่อฮอร์โมน

ทานน้ำตาล > อินซูลินเพิ่ม > น้ำตาลลด > อินซูลินลด > ร่างกายต้องการน้ำตาลเพิ่ม > ทานน้ำตาล

อาการอย่างหนึ่งที่ภาษาอังกฤษเรียกก็คือ Sugar Crash นะครับ

ถ้าแปลตรงๆก็ประมาณน้ำตาลตกหรือชนอะครับ ผมว่าคนส่วนใหญ่เคยเป็น หรือหากเคยสังเกตเด็กน้อยๆก็น่าจะเคยเห็น ที่ว่าเมื่อทานขนมหวานหรือของหวานก็จะมีแรงกระปี้กระเป่า ทำนู่นนี่นั่น วิ่งไปรอบบ้าน พอซักระยะระดับน้ำตาลตกสิ่งที่ตามก็คือจะเริ่มเพลีย ง่วงนอน สมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก

พอเพลียหรือหมดแรงร่างกายก็จะสั่งการไปที่สมองว่า เราหิวแล้วนะ หาอะไรกินหน่อยเร็ว มันก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้แป้งและน้ำตาลยังมีเวลาย่อยและดูดซึมที่ไม่เท่ากันนั้นอาจจะทำให้วัฏจักรที่ว่านี้เกิดขึ้นตลอดวัน หรือแม้กระทั่งหลังจากทานอาหารไปแล้ว 2-4 ชั่วโมง

[ผมเคยได้อ่านมา แหล่งอ้างอิงจะไม่มีนะครับ จำไม่ค่อยได้ละว่าอ่านมาจากไหน take it with a grain of salt เชื่อนิ้ดเดียวก็พอ]

นั่นคือการทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงจะทำให้อิ่มเร็วโดยมากประมาณ 30-60 นาทีหลังจากเริ่มทาน แต่หากทานเป็นโปรตีนและไขมัน ความอิ่มจะไม่เกิดขึ้นจนผ่านไป 2-4 ชั่วโมง แต่จะทำให้คุณอิ่มนานกว่า เนื่องจากโปรตีนและไขมันสามารถที่จะช่วยให้กระตุ้นการปล่อยฮอร์โมน Leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนยับยั้งความหิว นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า satiety effect หรือปรากฏการณ์ความอิ่มท้อง

ควรเริ่มทำคู่หู อาหารคีโต กับ IF ตอนไหนดี

จริงๆมันไม่ตัวเลขที่แน่นอนนะครับว่าควรจะทำช่วงไหนดี

แต่ผมมองว่าการเริ่มตอน 3-4 สัปดาห์แล้วจะทำให้ทำได้ง่าย ทำไมถึง 3-4 สัปดาห์ เนื่องมาจากร่างกายเราจะเข้าสู่ภาวะที่คนที่ทานคีโตนิยมเรียกกันว่า Keto-adapted ในช่วงนี้สิ่งที่เกิดขึ้นเลยก็คือร่างกายมีความคุ้นชินกับการทานไขมัน และการลดแป้ง ภาวะส่วนใหญ่ของ Keto-flu ก็จะหายไปแล้ว

อ่านเพิ่มเติม อาทิตย์แรกๆร่างกายจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเริ่มทานอาหารคีโต

ทำไม Keto-adapted จึงทำให้ทำ IF ง่ายก็เพราะก่อนหน้านี้ ร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างหนึ่งก็คือการที่ร่างกายต้องสร้างโปรตีนเพื่อช่วยย่อยไขมันให้มากขึ้นเพียงพอกับสิ่งที่เราทานเข้าไป (สาเหตุหนึ่งของไข้คีโต ก็คือการที่เรารู้สึกอ่อนเพลีย เนื่องจากพลังงานบางส่วนถูกใช้ไปกับกระบวนการนี้ และทำให้ช่วงแรกอาจจะทานเยอะกว่าปกติ)

อีกหนึ่งอย่างก็คือการตัดคาร์บกับภาวะ Sugar Withdrawal หรืออาการถอน/ลงแดงจากน้ำตาล สิ่งนี้จะทำให้เกิดภาวะทางจิตหลายๆอย่าง เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ไข้ขึ้น ตัวร้อน อาเจียน ซึ่งเป็นอาการที่คุณอาจจะพบเห็นได้กรณีของคนที่ติดยาเสพติดและเลิกด้วยซ้ำ

หลังจากที่เราตัดคาร์บมาได้ซักระยะ ระดับฮอร์โมนอินซูลินเราก็จะเริ่มคงที่และมีการตอบสนองต่ออาหารที่ทานเข้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระดับอินซูลินที่มีการเพิ่มสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็วมีผลต่อการสั่งการของสมองให้เกิดอาการหิว บางท่านอาจจะเรียกว่า หิวเทียม หลายๆคนอาจจะเคยเป็น เช่น หลังจากทานอาหารเสร็จก็มีอาการอยากของหวาน เป็นต้น

สองสิ่งนี้แหละครับ คือ สิ่งสำคัญที่คุณควรจะผ่านไปให้ได้ก่อน ก่อนที่จะเริ่มทำ IF และมันยังเป็นการช่วยปรับสภาพร่างกายให้ไม่เครียดจนเกินไป สำหรับมือใหม่สำหรับ IF ผมแนะนำให้ทำ 16/8 ก่อนคือการอด 16 ชั่วโมงและทานได้แค่ใน 8 ชั่วโมง จะเป็นสามมื้อ จะสองมื้อ หรือจะสามมื้อพร้อมมีของว่างระหว่างมื้อก็ได้ไม่ว่ากัน หลังจากนั้นก็พยายามทำ 18/6 ให้ได้ ประมาณเริ่มข้าวตอนเที่ยงและกินอีกมื้อก่อน 6 โมงเย็น หลังจากนั้นคุณก็พยายามลองทำ 23/1 คือการทานมื้อเดียวต่อวันนั่นแหละครับ แล้วจะลองอดแบบ 24/36/48/72 ชั่วโมงหลังจากชินแล้วก็เชิญตามสบาย

เราไม่ได้อดเพื่อไปประท้วงใครนะครับ เราอดเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและซ่อมบำรุงตัวเอง บางคนอาจจะบอกว่าโคตรโม้ จริงๆเรื่องนี้เป็นคอนเซ็บใหม่เรียกว่า Autophagy ซึ่งเป็นเรื่องที่มีการค้นพบโดยนักวิทยาศาตร์ญี่ปุ่นและได้รับรางโนเบลสาขาการแพทย์ในปี 2016 นะครับ

ถ้าบอกว่าอันนี้โคตรโม้ผมว่าพวกยาลดความอ้วนกับเข็มขัดลดความอ้วนยังฟังเป็นวิทยาศาสตร์เทียมมากกว่าเลยครับ

อ่านเพิ่มเติม
ประโยชน์ของ IF บนพื้นฐานจากงานวิจัย6 ยอดวิธีสำหรับทำ IF

Leave a Comment