อาหารคีโตช่วยรับมือไข้หวัดใหญ่!!

อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ ไขมันสูง เช่น อาหารคีโต นั้นมีแฟนคลับจำนวนมาก แต่ดูเหมือนว่าไข้หวัดใหญ่อาจจะไม่ใช่หนึ่งในแฟนคลับของอาหารคีโต

จากงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวรสาร Science Immunology เมื่อวันที่ 15 พย. 62 นักวิจัยพบว่าหนูที่ทานอาหารคีโตสามารถที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ได้ดีกว่าหนูที่ทานอาหารแบบที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง

อาหารคีโต – ในกรณีของคน ก็คืออาหารที่ประกอบไปด้วย เนื้อสัตว์ ปลา สัตว์ปีก และผักที่ไม่มีคาร์บสูง – ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์กลุ่มย่อย หรือ γδ T cells ในปอด (T cells เป็นกลุ่มเซลล์ในตระกูลเซลล์เม็ดเลือดขาว) ซึ่งกลุ่มเซลล์นี้ก่อนหน้าพบว่า ไม่มีความเชื่อมโยงกับระบบภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ โดยกลุ่มเซลล์นี้นั้นมีหหน้าที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเสมหะและน้ำมูกของเซลล์ในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีประโชยน์ช่วยในการดักจับเชื้อไวรัสได้

อ่านเพิ่มเติม อาหารคีโตทานอย่างไร

นักวิจัยอาวุโส Akiko Iwasaki ศาสตราจารย์ด้านวิทยาภูมิคุ้มกันและโมเลกุล กล่าวว่า “สิ่งที่พบนี้เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมาย”

งานวิจัยนี้เกิดขึ้นจากการนักวิจัยสองท่าน ท่านหนึ่ง ดร.Molony (ทำงานในห้องแลป Prof.Iwasaki) ผู้ซึ่งเคยค้นพบว่า ตัวกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันหรือที่เรียกว่า Inflammasomes สามารถที่จะก่อให้เกิดอันตรายในระบบภูมิคุ้มกันกับ Host ได้ (แอดมินเสริมให้ ในกรณีที่มีการทำงานที่ผิดพลาดและสร้าง Inflammasomes มากไป อาจจะทำให้เกิดโรค เช่น โรคมะเร็ง โรค autoimmune โรคเมตาบอลิก (โรคอ้วน) และระบบประสาทเสื่อมถอย (neurodegenerative)) และดร. Goldberg (ทำงานในห้องแลป Prof.Dixit) ผู้พบว่า อาหารคีโตสามารถช่วยยับยั้งการเกิดของ Inflammasomes ได้

นั่นทำให้นักวิจัยทั้งสองเกิดความสงสัยและตั้งสมมติฐานว่า อาหารส่งผลต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ (Influenza A) หรือไม่

ในงานวิจัยนี้ นักวิจัยพบว่าหนูที่ทานอาหารคีโตและถูกทำให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มีโอกาสรอดสูงกว่าหนูที่ทานอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตสูง

กล่าวลงไปเฉพาะนั่นคือ นักวิจัยพบว่าอาหารคีโตช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ γδ T cells (gamma delta T Cells) ซึ่งเป็นเซลล์ภูมิคุ้มกันที่มีหน้าที่สร้างเสมหะและน้ำมูกของเซลล์บนผิวผนังในปอด ในขณะที่อาหารแบบคาร์โบไฮเดรตสูงไม่ได้ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์นี้แต่อย่างใด

เมื่อหนูถูกเลี้ยงโดยการตัดต่อพันธุกรรม โดยการนำยีนที่สร้าง γδ T cells ออกไป นักวิจัยพบว่าอาหารคีโตไม่ได้ช่วยป้องกันอันตรายจากไวรัสไข้หวัดใหญ่แต่อย่างใด

“งานวิจัยนี้แสดงว่าการที่ร่างกายเผาผลาญไขมันและผลิตคีโตนบอดี้ออกมาจากอาหารที่เราทานสามารถที่จะเป็นแหล่งพลังงานให้กับระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู่กับการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้” กล่าวโดย Prof. Dixit นักวิจัยอาวุโสในงานวิจัยนี้

อ่านเพิ่มเติม ทราบได้อย่างไรว่าร่างกายผลิตคีโตบอดี้?

บทความนี้แปลมาจาก Ketogenic diet helps tame flu virus เว็บไซต์ข่าวของ มหาวิทยาลัย Yale

Leave a Comment